วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การตลาดและสภาวะการแข่งขันค้าปลีก ตอนที่2

ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกปี 2552





ในปี 2552 นั้น Total Retail Supply ภายในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพิ่มเป็น 5.26 ล้าน ตร.ม.สูงขึ้น 0.7% Q-0-Q และ 6.6% Y-0-Y โดยคิดเป็น 38.6% ของ Retail Space ในส่วนของกรุงเทพฯ และ 40.5% ในส่วนของปริมณฑล และ Total Occupied Retail Space เพิ่มขึ้นเป็น 4.86 ล้าน ตร.ม. สูงขึ้น 2.2% Q-0-Q และ 5.3% Y-0-Y ส่วน Overall Occupancy Rate ของกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเป็น 92.4% สูงขึ้น 1.3% Q-0-Q แต่ลดลง 1.2% Y-0-Y รวมถึง Overall Rent เพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว


ส่วนแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในปี 2553 นั้น มีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวมาในทิศทางที่ดีตั้งแต่ไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2552 ส่งผลให้ผู้บริโภคมั่นใจและมีการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5% ตามทิศทางเศรษฐกิจในประเทศและทั่วโลกที่กำลังฟื้นตัว ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก ต่างมั่นใจที่จะมีการลงทุนขยายสาขากันมากขึ้น โดยเน้นการเปิดตัวศูนย์การค้ารูปแบบใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต้องการหลากหลาย รวมทั้งผู้ประกอบการยังได้รับผลดีจากการที่ภาครัฐประกาศใช้งบไทยเข้มแข้ง มูลค่าหลายแสนล้านบาท ในการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน ต่อแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต


แต่ทั้งนี้การเติบโตเพิ่มขึ้นหรือขยายตัวคงที่หรือไม่นั้น ยังคงต้องพึ่งปัจจัยหลักทั้งภายในและนอกประเทศ โดยในประเทศคือ กำลังซื้อของผู้บริโภค รวมทั้งเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยภายนอกคือ การต้องพึ่งพาการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศในการขยายธุรกิจใหม่ๆเพิ่มขึ้น รวมทั้งการจับตาสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกว่าจะมีความผันผวนอีกหรือไม่ เพราะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยด้วย ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2553 คาดว่าภาพรวมจะปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ในปี 2553 ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกยังต้องจับตาดูมาตรการต่างๆในสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ที่อาจมีมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศใหม่ๆออกมาบังคับใช้ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น