Community Mall
คอมมูนิตี้ มอลล์ คือรูปแบบธุรกิจด้านการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า โดยมุ่งเน้นที่ศูนย์การค้าแบบเปิด (Open-air Shopping Center) จัดหาที่ดินตามความต้องการของลูกค้า และนำมาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีก เพื่อให้บริการเช่าพื้นที่ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้บริการบริหารโครงการและพื้นที่ส่วนกลาง จัดหาสถานที่ประกอบการ และให้บริการสาธารณูปโภค ตลอดอายุสัญญาเช่าพื้นที่
การขยายตัวของชุมชนที่อยู่นอกเมือง ประกอบกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบ และการจราจรที่ติดขัด ทำให้กลุ่มคนที่อาศัยในแต่ละย่านไม่อยากเสียเวลากับการไปจับจ่ายซื้อของตามห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ทั้งที่อยู่ในเมืองหรืออยู่ห่างจากบ้านมากเกินไป เพราะนอกจากจะต้องขับรถไกลแล้ว ยังต้องเสียเวลากับการหาที่จอดรถ แถมบางครั้งต้องจอดรถไกลจากจุดที่ต้องการซื้อของ ทำให้ คอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าใกล้บ้านที่สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็นรูปแบบค้าปลีกที่มาแรง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
สยามฟิวเจอร์ ต้นแบบคอมมูนิตี้ มอลล์เมืองไทย แนะผู้ประกอบการมือใหม่ ต้องมีความชัดเจน ไม่ใช่แห่ทำตามกระแสฮิต เผยกลยุทธ์ทำคอมมูนิตี้ มอลล์ต้องคำนึงถึง 5 ปัจจัยหลัก ทำเล-การออกแบบ – ผู้บริหาร-การตลาด-เงื่อนไข ด้านแผนการลงทุนพร้อมเปิดกว้างหาพันธมิตร ผุดคอมมูนิตี้ มอลล์รูปแบบใหม่ๆเพิ่ม
จากกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อคอมมูนิตี้ มอลล์ หรือศูนย์การค้าขนาดย่อม ที่ เปิดให้บริการในชุมชนหรือเฉพาะผู้บริโภคในย่านนั้นๆ ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเปิดให้บริการค้าปลีกในรูปแบบของคอมมูนิตี้ มอลล์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีทั้งที่ประสบความสำเร็จ และประสบปัญหาขาดทุน
สาเหตุที่ผู้บริโภคให้ความนิยมใช้บริการในคอมมูนิตี้ มอลล์ เพราะคำนึงเรื่องของความสะดวกสบาย ความทันสมัย และมีสินค้ารองรับตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
อย่างไรก็ดี การที่จะพัฒนาและบริหารคอมมูนิตี้ มอลล์ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีความชัดเจนในการดำเนินการ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ประกอบไปด้วย ทำเล หรือโลเคชั่นว่าผู้บริโภคในรัศมี 3-5 กิโลเมตรที่ศูนย์ต้องการนั้น มีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน มีกำลังซื้ออยู่ในระดับไหน ปานกลาง สูง หรือในระดับแมส รวมทั้งต้องวิเคราะห์เจาะลึกว่าทำเลที่ตั้งอยู่ฝั่งซ้าย หรือขวา มีการจราจรขาเข้าหรือขาออก หรือมีอุปสรรค์การจราจรติดขัดมากน้อยแค่ไหน มีจำนวนรถยนต์ รถประจำทาง รถจักรยานยนต์มากน้อยแค่ไหน และในอนาคตศูนย์จะสามารถรองรับกำลังซื้อในอีก 10-20 ปีได้หรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาและวิเคราะห์ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
ปัจจัยที่ 2 คือ การศึกษาถึงรูปแบบสถาปัตยกรรม ว่าผู้บริโภคต้องการหรือนิยมศูนย์การค้าแบบใด ทึบ โปร่ง ทรงเหลี่ยม ฯลฯ และผสมผสานออกมาให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งนักออกแบบต้องศึกษาดูงานมาทั่วโลก ปัจจัย 3 คือ ผู้บริหาร ซึ่งต้องมีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในสายงานค้าปลีก ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ผลักและดึง ให้เกิดความลงตัวในรูปแบบwin-win ระหว่างศูนย์กับผู้เช่า ปัจจัยต่อมา คือด้านการตลาด ในฐานะที่ศูนย์ได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการจากผู้เช่า ศูนย์จึงต้องคิดเผื่อ และคิดแทนถึงเรื่องของการโฆษณา ส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การตลาดต่างๆ รวมไปถึงAnchorที่จะมาสร้างความแข็งแรงให้กับศูนย์ ส่วนปัจจัยสุดท้าย เป็นเรื่องของเงื่อนไขที่ต้องสมเหตุสมผลกับทุกฝ่าย
ที่มา : Siam Future
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น